เพื่อการศึกษาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

เทคนิคการผ่า ภาคจ่ายไฟโซนี่



เทคนิคการผ่า ภาคจ่ายไฟ โซนี่
ในการซ่อมภาคจ่ายไฟ โซนี่ รุ่น KV 2165 MT นั้นปกติไม่ใช่เรื่องยากแต่ถ้าหากมีการระเบิด ของตัวอุปกรณ์ ภาคจ่ายไฟเมื่อไหร่ ละก้อ...เป็นอันว่าเรื่องจะต้องยาว งานนี้เป็นหนาวละครับหากเรากำจัดตัวเสียออกไม่หมดเมื่อใส่ IC สวิทย์ชิ่ง STRS6307 เข้าไปงานนี้จะต้องระเบิดซ้ำสองซ้ำสามแน่นอน
กรณีศึกษาเครื่องนี้ได้ถูกส่งเข้ามาจากเพื่อนช่างอาการผ่าน สมรภูมิรบ มาอย่างโชกโชนจนแผ่นปริ้นแถบไม่มีชิ้นดี (ไม่ได้โม้)ผมจึงรวบรวมขั้นตอนการซ่อมแบบ ปฏิบัติจริงมาให้ดู 10 ขั้นตอน โดยเน้นความละเอียดเป็นหลักมาพิจารณา 10 ขั้นตอน ที่ได้มีดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนการวัดอุปกรณ์พื้นฐานก่อนซ่อม
2. ขั้นตอนการแปลง ทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ แทน ทรานซิสเตอร์ ชิป
3. ขั้นตอนการวัด IC OPTO หรือ IC คุมไฟ 6 ขา
4. ขั้นตอนการวัด IC SE115 ( EREOR AMP)
5. ขั้นตอนการวัด IC สวิทย์ชิ่ง STRS6307
6. ขั้นตอนการทดสอบภาคจ่ายไฟเบื้องต้น+300
7. ขั้นตอนการนำ IC STRS6307 ทดสอบจริงด้วยเครื่องหรี่ไฟ
8. ขั้นตอนการตรวจสอบระบบคุมไฟ
9. ขั้นตอนการตรวจสอบแบบ 100 % ด้วยการตรวจสอบแบบเสียบไฟจริง
10. ขั้นตอนอุปกรณ์เสียที่ตามมา และ การเก็บงาน
จะเห็นว่าทางผมเองได้แบ่งการซ่อมทั้งหมดเป็น 10 ขั้นตอนเพื่อให้เพื่อนสมาชิกสามารถทำความเข้าใจแต่ละหัวข้อและยังสามารถ ประยุกต์และใช้กับแท่นอื่นๆได้อีกเยอะเลย...คาถาของการอ่านแล้วให้เกิดความ สำเร็จมีดังนี้
1. จงตั้งใจของตัวเองว่ามีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาจริงๆโดยไม่ย่อท้อ
2. ให้อ่านซ้ำเมื่ออ่านจบแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง
3. หัดจับหลักการของหนังสือว่าแต่ละหัวข้อมีวัถตุประสงค์อะไร
4. ทุกสิ่งทุกอย่างในการซ่อมคุณจะต้องลงมือด้วยตัวของคุณเองห้ามใช้คนอื่นทำนะ ครับ

เมื่อผมได้รับเครื่องผมได้ทำการตรวจวัด อุปกรณ์ที่อยู่บนแผงบอร์ดว่ามีตัวไหนเสียหายบ้างและตัวไหนบ้างที่มีอาการยืด ค่าเราจะต้องตรวจทานอย่างละเอียด ข้อสำคัญอย่าใจร้อนค่อยๆเป็นค่อยๆไป
เครื่องมือที่ผมใช้ก็มีมิเตอร์เข็มตัวถูกๆราคาประมาณ 350 บาท มีขายตามท้องตลาดทั่วไปแต่เครื่องจะต้องไม่เพี้ยนและมีความเที่ยงตรงนะครับ มิเตอร์อีกตัวหนึ่งเป็นแบบนิจิตอล ยี่ห้อ FLUKE 11 ซึ่งปัจจุบันไม่มีขายแล้วจะเป็นรุ่นใหม่ออกมาเป็นรุ่น FLUKE 111 ราคาก็ประมาณ 5,000 ถึง 6,000 บาท/เครื่อง ติดต่อหาซื้อเองนะครับผมไม่มีจำหน่าย ตัวเสียที่ผมเจอเต็มๆมีดังนี้
1.IC STRS 6307 (ช๊อตระหว่างขา 1,2,3 ผมวัดด้วยมิเตอร์นิจิตอล)

2. C ตำแหน่ง 607 ระเบิดแตกเป็นเสี่ยงดังรูป ค่า = 0.33 UF มองดูเอาเองก็แล้วกัน

3. R ตำแหน่ง 625 ค่า = 0.47 โอห์ม เป็น R ฟิวส์ ผมวัดด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

3.1 R ตำแหน่ง 608 ค่า = 220 โอห์ม
3.2 R ตำแหน่ง 622 ค่า = 0.47 โอห์ม
4. OPTO PC 111 เสียแบบรั่ว (วัดด้วยมิเตอร์เข็ม)
5. ทรานซิสเตอร์ Q 601 และ Q 603 ช๊อตและรั่ววัดด้วยมิเตอร์ทั้ง 2 แบบครับ
ในการตรวจสอบครั้งนี้จะเจอตัวเสียทั้งหมด 8 ตัวครับ งานนี้อาการหนักมากๆ ครับ การซ่อมจะต้องใช้เวลาผมจะให้แนวความคิดในการซ่อมนะครับเพื่อให้ช่างนำไปสาน ต่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดส่วนตัวผมแล้วผมไม่ได้ซ่อมเก่งนะครับแต่ผมมีจุด เด่นในแง่ความคิดด้านปฏิบัติ บางคนตำหนิว่าอาการง่ายๆ ก็เอามาบอก มาลง ถึงขนาดว่าถ้าเห็นแล้วซ่อมไม่ได้ก็ให้เลิกอาชีพนี้ไปเลยก็มี แต่ผมอยากจะบอกว่า “คลื่นลูกใหม่ย่อมมาไล่คลื่นลูกเก่า” อย่างเราๆ เองคงไม่เห็นความสำคัญของหนัง ก.ไก่ หรอกครับ เพราะรู้แล้ว แต่รู้ไหมว่ามันมีความสำคัญมากสำหรับเด็กอนุบาล หรือ ผู้ไม่รู้...ขอให้ช่างทุกคนมาร่วมกันสร้างสรรความรู้นำมาเผื่อแพร่ให้ทุกคน ได้รับรู้กันทุกคน ผมยังมีความต้องการกำลังใจในการผลักดันผลงานให้ช่างรับรู้มากที่สุดและขอ เป็นกำลังใจช่างทั่วประเทศขอบคุณครับ
การแปลง ทรานซีสเตอร์ตัวใหญ่ใช้แทนตัวเล็กนั้นมีความจำเป็นมากโดยเฉพาะช่างต่าง จังหวัด โอกาสจะซื้อทรานซีสเตอร์ชิปยิ่งเป็นเรื่องยาก (แทบจะเป็นไปไม่ได้) ทางผมก็เลยหาเบอร์ทรานซีสเตอร์ไว้ 2 ตัวใช้งาน เป็นทรานซีสเตอร์อเนกประสงค์ ราคาถูกหาง่ายมาก
1.ชนิด PNP ใช้เบอร์ A1015 แทนเบอร์ ชิฟเดิม รูปแสดงทรานซีสเตอร์
2. รูปทรานซีสเตอร์ทั่วไปทีลักษณะตัวใหญ่มีขายทั่วไป
ข้อสังเกตุ
1.1ทรานซีสเตอร์ขึ้นต้นด้วย 2SA , 2SB จะเป็นชนิด PNP (ของญี่ปุ่น)
1.2ทรานซีสเตอร์ขึ้นต้นด้วย 2SA หมายถึงความถี่สูงถึงสูงมาก
1.3ทรานซีสเตอร์ขึ้นต้นด้วย 2SB หมายถึงความถี่ต่ำจนถึงสูงธรรมดาย่านเสียง
2.ทราน ซีสเตอร์ชนิด PNP ( C แบบชิป ) Q601 ทรานซีสเตอร์ชนิด NPN ( C แบบชิพ ) Q601 (แก้ไขชนิดทรานซีสเตอร์ผิด)
ข้อสังเกตุ
2.2 ทรานซีสเตอร์ที่ขึ้นต้นด้วย 2SC และ 2SD เป็นชนิด NPN (ญี่ปุ่น)
2.3 ทรานซีสเตอร์ที่ขึ้นต้นด้วย 2SC จะใช้งานย่านความถี่สูงถึงสูงมาก
2.4 ทรานซีสเตอร์ที่ขึ้นต้นด้วย 2SD จะใช้งานย่านความถี่ปานกลางถึงสูง

จากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทรานซีสเตอร์นั้น เสียบช๊อตเลย ด้วยปัญญาน้อยๆ ของผมก็เลยคว้าทรานซีสเตอร์ที่อยู่ใกล้มือมาใช้ดังรูป เมื่อติดตั้งแล้วที่สมบูรณ์แล้วอย่าลืม ใช้ปืนกาว ยึดติดอีกครั้งครับ
เนื่องจากวัด OPTO มีส่วน สำคัญมากในการตัดสินใจว่าจุดนี้ดีหรือเสียOPTO จะทำหน้าที่แยกแท่นร้อน และ แท่นเย็นออกจากกันเมื่อเป็นอิสระไม่ให้ไฟไปดูดผู้ใช้งานนั้นเอง เรามาดูตัว OPTO ของรุ่นPC111 กันเลยดีกว่า ซึ่งจาดรูปทั้ง 2 ตัว จะใช้แทนกันได้ครับ...
การนับขาเราจะ ดูจาก จุดมาร์ด ก่อนแล้วจะมีจุดดำ เรียกว่าขา 1 นับต่อไปเรื่อยๆครับดูได้จากรูป เรามาดูโครงสร้างภายในเจ้าตัว OPTO กันครับ
ขั้นตอนการวัด
ให้ใช้มิเตอร์เข็มจะดีที่สุด ตั้งไปที่ Rx10 K เลยครับ วัดไปที่ขา 1 กับ 2 ของ IC OPTO สังเกต
1.นำสายมิเตอร์สีแดงวัดที่ขา 1 สายสีดำแตะขา 2 เข็มจะต้อง ไม่ขึ้น
2.นำสายมิเตอร์สีดำวัดที่ขา 1 สายสีแดงแตะที่ขา 2 เข็มจะต้อง ขึ้น
(กรณีข้อ 1 ถ้าเข็มขึ้นนิดๆก็แสดงว่าเสียครับ)
3.นำสายมิเตอร์สีแดงวัดที่ขา 4 สายสีดำวัดที่ชา 5 เข็มจะต้องไม่ขึ้น
4.นำสายมิเตอร์สีแดงวัดที่ขา 5 สายสีดำวัดที่ขา 4 เข็มจะต้องขึ้นเลข 40 หรือ 400 K โอห์ม
จะเห็นว่าเป็นเรื่องง่ายๆที่เราไม่ควรมองข้ามนะครับ ฝึกฝนมากๆเราจะได้เก่งงานนี้ คนที่ทำมากจะรู้มาก คนที่ทำน้อยจะรู้น้อยครับ...อย่าได้ชื่อว่า “ ดีแต่พูดนะครับ “อ้อ..ใช้ PC113แทน PC111 ได้ครับ

ตอนที่ 5 การวัด IC STRS 6307
การวัด IC STRS 6307 นั้นถือว่าเป็นหัวใจของระบบเครื่องเลยที่เดียวหากผิดพลาดขึ้นมานั้นหมายถึง ระเบิดฟิวส์ขาดแน่นอนเลยที่เดียวทางผมขอนำเสนอวิธีแบบง่ายๆแต่ได้ผลดังนี้ ครับ

เมื่อเรารับ ทราบแล้วเรามาดูตำแหน่งขาของเค้าดังนี้
1. COLLECTOR
2. EMITTER
3. BASE
4. SINK
5. DRIVE
6. OCP
7. FB
8. INH
9. VCC
ขาที่สำคัญและควรนำมาพิจารณามี 3 ขาครับคือ 1,2,3 (เหมือนสวิทซ์ชิ่งทั่วไป) ให้นำมิเตอร์มาวัดเลยครับ


การวัด STR S6307 ด้วยมิเตอร์เข็ม
เนื่องจากขาอื่นๆไม่ค่อยมีปัหาเราจึงขอเสนอการวัดเฟื่อง 3 ขาครับเรามาดูโครงสร้างภายในตัว STR กันครับ
ขั้นตอนการวัด ตั้งมิเตอร์เข็มไปที่ Rx10 ครับ
1.เนื่องจากขา 2 กับ 3 จะมี R อยู่ 1 ตัว เมื่อวัด ทั้ง 2 ขานี้จะได้ค่าประมาณ 50 โอห์ม ครับ
(แต่ความจริงแล้วมันเป็นไดโอดต่อกลับหัวท้ายกันอยู่เมื่อวัดด้วยมิเตอร์ ดิจิตอลจะพบว่าเป็นไดโอดครับ 2 ตัว)
2.เมื่อนำสายมิเตอร์สีดำไปจับขา 2 แล้ว สีแดงไปแตะขา 1 เข็มจะขึ้นเลข 15 หรือ 150 โอห์ม ครับ
3.ตั้งมิเตอร์ไปที่ R 10 K เลยครับ นำสายสีดำไปแตะขา 1 สายมิเตอร์แดงไปแตะขา 2 เข็มจะต้องไม่ขึ้นเลย...ขอย้ำเข็มจะต้องไม่ขึ้นเลยครับ
การผิดพลาดจากค่าก็มีอยู่บ้างขึ้นอยู่กับมิเตอร์แต่ละตัวครับห่างกันนิดๆ หน่อยก็ OK ละครับ


ตอนนี้มีจุด ประสงค์ในการทำไฟเบื้องต้น+300 โวลท์ครับ..เพื่อให้มั่นใจ
หลักการทำของ สวิทซ์ชิ่งจะมีอัตตราส่วนเท่ากับ 1:1 หมายความว่าไฟอินพุทเข้ามาเท่าไหร่ เอาท์พุทก็จะออกเท่านั้น ยกตัวอย่าง เช่น ผมทำไฟจุด 300 ให้เป็น + 100 โวลย์ เอาพุท ถ้าไม่มีการคุมไฟก็จะได้ + 100 โวลย์เช่นกันนี่คืออัตตราส่วนโดยประมาณ
ผมได้นำเครื่องหรี่ไฟที่ผมสร้างเอง (ไม่เหมือนเครื่องหรี่ไฟที่วางขายทั่วไป) โดยต่อเข้าดังรูป

ผมนำหลอดไฟ ขนาด 60 วัตต์ มาต่อครอมที่ C + 300 ตำแหน่ง C 604 ดังรูป เพื่อใช้แทนโหลด
ทำการเปิด สวิทซ์ (อย่าลืมเสียบสาย ดีเก๊า ด้วย เดี๋ยว R 470 โอห์ม จะไหม้) แล้วทำการปรับไฟเครื่องหรี่ให้ไฟตกคร่อมหลอดได้ 125 โวลท์ ดังรูป
ขณะที่ผมวัดไฟ จะเห็นว่าหลอดไฟยังสว่างอยู่ หลักการภาคจ่ายไฟเบื้องต้นจะมีอยู่แค่นี้ กรณีที่เกิดปัญหาบ่อยๆ สรุปได้ดังนี้
1.เปิดไฟฟิวส์ขาดทันที เกิดจากตัว PTC ตำแหน่ง THP 601 ช๊อต ( ให้เขย่าดูถ้ามีเสียงแสดงว่าเสียแล้ว )
2.เกิดจาก ไดโอดบริดช๊อต ตำแหน่ง D 601
3.เกิดจาก IC สวิทซ์ชิ่งเสีย ตำแหน่ง IC 601 เบอร์ STR - S 6307
ก็ขอให้พยายามศึกษาหลักการทำงานกันนะครับใช้ได้ทุกยี่ห้อค่อยๆประยุกต์ใช้ก็ แล้วกัน
Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 11,764 Today: 4 PageView/Month: 18

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...